เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ไม่มีส่วนเหลือ ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่างไม่มีเหลือ
ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า ไม่มีส่วนเหลือ นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ
ไว้ทั้งหมด
คำว่า ดับ ได้แก่ ดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า
นามและรูปนั้นดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด
คำว่า นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ อธิบายว่า ธรรม คือ
นามและรูป ที่พึงเกิดในสงสารมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ เว้นภพ 7 ย่อมดับ
คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบ
ด้วยอภิสังขารธรรมดับไป ด้วยโสดาปัตติมัคคญาณ
ธรรมคือนามและรูปที่พึงเกิดในภพ 5 เว้นภพ 2 ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบด้วยอภิสังขารธรรม
ดับไป ด้วยสกทาคามิมัคคญาณ
ธรรมคือนามและรูปที่พึงเกิดในรูปธาตุ หรืออรูปธาตุ เว้นภพ 1 ย่อมดับ คือ
เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบด้วย
อภิสังขารธรรมดับไป ด้วยอนาคามิมัคคญาณ
ธรรมคือนามและรูปที่พึงเกิด ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
ระงับไปในที่นั้น เพราะวิญญาณอันประกอบด้วยอภิสังขารธรรมดับไป ด้วย
อรหัตตมัคคญาณ
ปัญญา สติ นามและรูป ย่อมดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
ระงับไปในที่นั้น เพราะจริมวิญญาณ1ของพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
ปรินิพพานธาตุ2ดับไป รวมความว่า นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เชิงอรรถ :
1 จริมวิญญาณ แปลว่า วิญญาณสุดท้าย หรือจิตสุดท้าย หมายถึงจุติจิต หรือจุติวิญญาณของพระอรหันต์
ขณะปรินิพพาน (ขุ.จู.อ. 6/7)
2 อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึงนิพพานที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่ (ขุ.จู.อ. 6/6-7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :61 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 1. อชิตมาณวปัญหานิทเทส
อชิตะ เธอได้ถามปัญหานั้นใด
เราจะกล่าวแก้ปัญหานั้นแก่เธอ
นามและรูปนั้นดับไม่มีส่วนเหลือในที่ใด
นามและรูปนั้นดับไปในที่นั้นเพราะวิญญาณดับ
[7] (ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้)
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้นเถิด (7)
คำว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม อธิบายว่า พระอรหันต-
ขีณาสพตรัสเรียกว่า ท่านผู้มีสังขาตธรรม
เพราะเหตุไร พระอรหันตขีณาสพ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้มี
สังขาตธรรม พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้มีสังขาตธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้
เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม ได้แก่ ผู้มี
สังขาตธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม
ผู้เห็นแจ้งธรรมว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ผู้มีสังขาตธรรม ฯลฯ ว่า “สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์” ผู้มีสังขาตธรรม ฯลฯ ว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ผู้มี
สังขาตธรรม ฯลฯ ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” ฯลฯ ผู้มีสังขาตธรรม
ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม ว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นรู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ
(การถือกำเนิด) ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะแล้ว
อีกนัยหนี่ง ท่านเหล่านั้นดำรงอยู่ในที่สุดแห่งขันธ์ ในที่สุดแห่งธาตุ ในที่สุด
แห่งอายตนะ ในที่สุดแห่งคติ ในที่สุดแห่งอุปบัติ ในที่สุดแห่งปฏิสนธิ ในที่สุด
แห่งภพ ในที่สุดแห่งสงสาร ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพสุดท้าย อัตภาพ
สุดท้าย เป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงร่างกายสุดท้ายไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :62 }